TH EN
A A A

ออสซี่ออกระเบียบการวิเคราะห์ความเสี่ยงการนำเข้ากุ้งและผลิตภัณฑ์

21 October 2552   

                 เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2552 ออสเตรเลียได้ออกระเบียบสุดท้ายว่าด้วยการวิเคราะห์ความเสี่ยงการนำเข้ากุ้งและผลิตภัณฑ์ (Final Import Risk Analysis for Prawns and Prawn Products) โดยมีสาระสำคัญดังนี้
                 1. ยกเลิกมาตรการการจัดการความเสี่ยงต่อโรคแคระแกร็นของกุ้ง (IHHNV) 

                 2. เพิ่มผลิตภัณฑ์กุ้งที่คลุกน้ำซอส ( marinated products) ให้รวมอยู่ในประเภทกุ้งแปรรูป(highly processed) จากเดิมกำหนดให้กุ้งแปรรูปมีเฉพาะ ผลิตภัณฑ์กุ้งที่คลุกแป้ง หรือผลิตภัณฑ์กุ้งประเภทเกี๊ยว (dumping) ปอเปี๊ยะ(spring roll) กะหรี่ปั๊ฟ (samosa) ติ่มซำ (dim-sim) เท่านั้น

                 3. กำหนดให้มีการจัดการความเสี่ยงต่อโรค 4 ชนิด ได้แก่
                    -  โรคจุดขาว หรือโรคตัวแดงดวงขาว (WSSV)
                    -  โรคไวรัสหัวเหลือง (YHV)
                    -  โรคทอราซินโดรม (TSV)
                    - 
โรค necrotizing hepatopancreatitis bacterium (NHPB) เฉพาะกุ้งที่ไม่แช่แข็งเท่านั้น

                 4. มาตรการสำคัญของกุ้งนำเข้ากำหนด ดังนี้ 
                  มาจากประเทศหรือเขตที่ปลอดจากโรค WSSV, YHV, TSV และ NHPB เฉพาะ กุ้งที่ไม่แช่แข็ง หรือ
                  ตัดหัวและปอกเปลือก ให้เหลือได้เฉพาะข้อสุดท้ายของส่วนหาง และหากไม่ได้มาจากแหล่งที่ปลอดจากโรค สินค้าจะต้องถูกตรวจโรค WSSV และ YHV ที่ด่านนำเข้าทุก batch หรือ
                  เป็นกุ้งแปรรูป โดยตัดหัวและปอกเปลือก ให้เหลือได้เฉพาะข้อสุดท้ายของส่วนหาง คลุกแป้ง คลุกน้ำซอส เสียบไม้ หรือกุ้งดิบแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทเกี๊ยว ปอเปี๊ยะ กะหรี่พั๊ฟ ติ่มซำ หรือ
                    ต้มสุกในอุณหภูมิและเวลามาตรฐาน โดยออสเตรเลียได้ยอมรับข้อเสนอของไทย ในอุณหภูมิที่ 70 องศาเซลเซียส 11 วินาที ตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน 2550
                  สินค้ากุ้งและผลิตภัณฑ์กุ้งดิบ ต้องมีใบรับรอง จากหน่วยงานรับผิดชอบ (CA) ของประเทศผู้ส่งออกทุก shipment ยืนยันว่า สินค้าได้ถูกตรวจสอบแปรรูปและผ่านกระบวนการจากโรงงานที่อยู่ในความควบคุมของ CA ไม่ปรากฎอาการของโรค และเหมาะสมกับการบริโภคของมนุษย์ ทั้งนี้สินค้ากุ้งดิบนำเข้าเพื่อบริโภค ที่ไม่ใช่ประเภทแปรรูป ต้องมีข้อความ “for human consumption only” และ “not to be used as bait or feed for aquatic animals” กำกับ
                  สินค้ากุ้งสุก ต้องมีใบรับรอง (health certificate) จากหน่วยงาน CA ทุกshipment ยืนยันว่า กุ้งผ่านกระบวนการต้มในโรงงานที่ได้รับอนุมัติและอยู่ในความควบคุมของ CA โปรตีนในเนื้อกุ้งแข็งตัวและไม่มีส่วนที่เป็นเนื้อดิบ และเหมาะสมกับการบริโภคของมนุษย์

                 อย่างไรก็ตาม ออสเตรเลียรับที่จะพิจารณามาตรการอื่นๆ ที่มีมาตรฐานที่เท่าเทียมกัน โดยจะพิจารณาข้อเสนอและเอกสารสนับสนุนเป็นรายกรณี

                  ทั้งนี้ ออสเตรเลียได้เปิดให้ผู้มีส่วนได้เสียยื่นอุทธรณ์ต่อระเบียบสุดท้ายนี้ได้จนถึงวันที่ 6 พฤศจิกายน 2552

 

ที่มา : สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตร ประจำกรุงแคนเบอรร์รา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

Is this article useful?