กลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติ Zero Mercury Working Group ได้กล่าวถึงการรับประทานปลาในปัจจุบันว่า มีความเสี่ยงจากปริมาณสารปรอท เพื่อให้ผู้บริโภคตระหนักถึงการปนเปื้อนสารปรอทในปลาและอาหารทะเล จึงจำเป็นต้องมีการติดฉลากระดับปริมาณของสารปรอทด้วย ขณะนี้มีการเสนอกฎระเบียบของฉลากอาหารในสหภาพยุโรป กลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติจึงจัดทำรายงานเพื่อเรียกร้องการตอบรับจากรัฐบาลและองค์การสหประชาชาติ (UN) เรื่องฉลากของกลุ่มอาหารที่มีความเสี่ยง เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับระดับปริมาณสารปรอทปนเปื้อนในปลาและอาหารทะเล หลังพบว่าการบริโภคปลาเป็นสาเหตุสำคัญของการพบระดับของสาร Methylmercury ในมนุษย์ Elena Lymberidi-Settimo จากองค์กร European Environmental Bureau (EEB) ซึ่งเป็นผู้ประสานงาน Zero Mercury เรียกร้องว่าการติดฉลากสำหรับปลาบางชนิดจะต้องเริ่มทันที รัฐบาลจึงต้องพิจารณารายงานผลการตรวจสอบและลงมติเห็นชอบ จัดตั้งคณะกรรมการเจรจาระหว่างประเทศ (INC) และเริ่มเจรจาเรื่องข้อตกลงของสารปรอททั่วโลกอย่างเร่งด่วน ในการประชุม UN ณ เมือง Nairobi ที่จะมีขึ้นในสัปดาห์หน้านี้ เพื่อป้องกันผู้บริโภคต่อความเสี่ยงในการได้รับสารปรอทจากการบริโภคอาหาร คณะกรรมาธิการยุโรปได้กล่าวในเดือนเมษายนปีที่แล้วว่าประเทศสมาชิกจะต้องจัดเตรียมข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สามารถให้คำแนะนำที่เหมาะสมกับผู้บริโภค ทั้งนี้ผู้ควบคุมความปลอดภัยอาหารทั่วโลก ได้กล่าวเตือนอีกว่า หญิงมีครรภ์และหญิงที่ให้น้ำนมบุตรควรหลีกเลี่ยงการบริโภคปลาบางชนิดที่คาดว่ามีปริมาณสารปรอทสูง เช่น ปลา Swordfish ปลาฉลาม ปลา Marlin และ ปลา Pike ที่มา : Food Production Daily
|