ความต้องการที่เพิ่มขึ้นของเจราตินในอุตสาหกรรมควบคู่กับความกังวลของผู้บริโภคต่อการใช้เจรา ตินจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทำให้โอกาสของเจราตินจากปลาที่จะเข้าไปแทนที่ช่องว่างนี้
นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Sains Malaysia กล่าวในวารสาร Food Hydrocolloids ว่าเจราตินจากปลาโดยเฉพาะอย่างยิ่งเจรจาตินจากปลาน้ำอุ่นถือเป็นทางเลือกในการทดแทนเจราตินจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในผลิตภัณฑ์อาหารเจราตินเป็นสารไม่มีสีใส่ได้มาจากการต้มหนังสัตว์เนื้อเยื้อหรือกระดูกที่ติดกับหนัง โดยทั่วไปใช้เป็นสารทำให้คงรูป สารทำให้หนา และสาร texturriser ในอาหาร เช่น ไอศกรีม แยม และโยเกิร์ต เพื่อเพิ่มความรู้สึกดีในการทานสำหรับอาหารหลายชนิด
อย่างไรก็ตาม เร็วๆนี้ความกลัวต่อโรควัวบ้า (BSE)ในสัตว์มีกีบ โรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกทำให้ผู้บริโภคเริ่มมองหาทางเลือกใหม่ ปัญหาของอุตสาหกรรมคือต้องสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคว่าผลิตภัณฑ์ของตนเองไม่มีปัญหาที่ผู้บริโภคกังวล บริษัทและหน่วยงานหลายแห่งได้กล่าวอ้างว่าไม่มีความเชื่อมโยงใดๆ ระหว่าง BSE กับเจราติน นอกจากนี้ยังระบุว่า เจราตินมีคุณประโยชน์ทางสุขภาพ เช่น เจราตินโปรตีนธรรมชาติมี aminoaid glycine และ proline สูงถึง 10-20 เท่าของที่พบในโปรตีนอื่นๆ
เจราตินจากปลามีคุณสมบัติหลายส่วนของเจราตินจากสุกร อย่างไรก็ตาม การเพิ่มจำนวนการผลิตเจรา
ตินจากปลาคงไม่สามารถเพิ่มได้อย่างรวดเร็วมากนักอย่างน้อยในอนาคตอันใกล้นี้เนื่องจากข้อจำกัดด้านวัตถุดิบ อย่างน้อยก็เชื่อว่าในอนาคต เจราตินจากปลาจะเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับตลาดเฉพาะโดยเฉพาะอย่างยิ่งความต้องการจากตลาดอาหารฮาลาลและโครเชอร์ ผลผลิตเจราตินของโลกใกล้ 326,000 ตัน โดยมีเจรจาตินจากหนังสุกรสูงสุดคือ 46% ตามด้วย bovine hides 29.4%
ที่มา : AP-Foodtechnology