TH EN
A A A

เกษตรอินทรีย์ : การผลิต การเเปรรูป การเเสดงฉลาก เเละการจำหน่ายผลิตผลเเละผลิตภัณฑ์อินทรีย์ (มกษ.9000-2564)

3 December 2564   

เกษตรอินทรีย์ : การผลิต การเเปรรูป การเเสดงฉลาก เเละ
การจำหน่ายผลิตผลเเละผลิตภัณฑ์อินทรีย์
(มกษ.9000-2564)

ประเดือนธันวาคม 2564

นิยาม

             เกษตรอินทรีย์ (organic agriculture) หมายถึง ระบบการจัดการการผลิตด้านการเกษตรเเบบองค์รวม ที่ช่วยทำให้ระบบนิเวศเกษตรมีความอุดมสมบรูณ์ทั้งนี้รวมถึงความหลากหลายทางชีวภาพ วงจรชีวภาพ เเละกิจกรรมทางชีวภาพในดิน เกษตรอินทรีย์เน้นการใช้วิธีการจัดการภายในฟาร์มมากกว่าการเลือกใช้ปัจจัยการผลิตจากภายนอกฟาร์ม โดยคำนึงถึงสภาพของภูมิภาคต่างๆ ที่ต้องมีการปรับระบบให้เข้ากับสภาพท้องถิ่น ทั้งนี้เมื่อเป็นไปได้จะทำให้สำเร็จได้โดยใช้วิธีทั่วไป วิธีทางชีวภาพเเละทางกล เเทนการใช้วัสดุสังเคราะห์

หลักการเฉพาะของพืชปศุสัตว์ และสัตว์น้ำ

    1. บำรุงรักษาและเพิ่มระดับของสิ่งมีชีวิตในดินและความอุดมสมบูรณ์ของดินตามธรรมชาติ

    2. การเลือกสายพันธ์ุสัตว์ให้คำนึงถึงความหลากหลายทางพันธุกรรม การปรับตัวให้เข้ากับสภาพท้องถิ่น ความต้านทานต่อโรค

    3. ให้อาหารสิ่งมีชีวิตในน้ำด้วยอาหารจากการประมงที่ยั่งยืน

    4. การเลี้ยงสัตว์ให้สัตว์ ออกกำลังกายเป็นประจำและเข้าถึงพื้นที่เปิดโล่งและทุ่งหญ้า

    5. การผลิตพืชอินทรีย์ให้เป็นการผสมพันธ์ุตามธรรมชาติ

    6. การปรับตัวให้เข้ากับสภาพท้องถิ่นความต้านทานต่อโรค

    7. เลือกชนิดพันธ์ุที่ต้านทานต่อศัตรูพืชและโรค

    8. จำกัดการใช้ทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไปไม่สามารถหมุนเวียนกลับมาได้

หลักการเฉพาะของการเเปรรูปอาหาร

     1. ผลิตอาหารอินทรีย์จากส่วนประกอบอินทรีย์

     2. จำกัดการใช้วัตถุเจือปนอาหาร

     3. เลือกใช้วิธีทางชีวภาพ ทางกล และทางกายภาพ

     4. ไม่ใช้อาหารที่มีหรือประกอบด้วยวัสดุนาโน

การแปรรูปอาหารอินทรีย์

     1. ป้องกันการปะปนระหว่างผลิตภัณฑ์อินทรีย์กับผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อินทรีย์

     2. มีการจัดการกระบวนการแปรรูปตามหลักการปฏิบัติทางสุขลักษณะที่ดี (good hygieniec practices) หรือการปฏิบัติทางการผลิตที่ดี (good manufacturing practices)

     3. วิธีการแปรรูปอาหารอินทรีย์ให้ใช้เฉพาะวิธีทางกล กายภาพหรือชีวภาพ เช่น การกระเทาะเปลือกการขัดสี การหมัก การบด การบีบอัด และการระเหยน้ำออก

     4. ส่วนประกอบอาหารชนิดเดียวกันจะต้องไม่มาจากทั้งแหล่งที่เป็นอินทรีย์และไม่ใช่อินทรีย์

     5. ไม่ใช้เทคนิคการฉายรังสี(ionizing radiation) เพื่อจุดมุ่งหมายในการควบคุมศัตรูพืชและสัตว์พาหะนำเชื้อ การถนอมอาหารและการกำจัดจุลินทรีย์ก่อโรคหรือการสุขาภิบาล

     6. ใช้มาตรการเพื่อป้องกันการปนเปื้อน รวมถึงการปนเปื้อนจากสารต่างๆ ที่ไม่อนุญาตให้ใช้ในการผลิตแบบอินทรีย์

หลักการเฉพาะของการแปรรูปอาหารสัตว์

     1. ผลิตอาหารสัตว์อินทรีย์จากวัสดุอาหารสัตว์อินทรีย์

     2. จำกัดการใช้วัตถุเจือปนอาหารสัตว์และสารช่วยในการผลิตอาหารสัตว์

     3. ใช้วิธีทางชีวภาพ ทางกล และทางกายภาพ

การแปรรูปอาหารสัตว์อินทรีย์

     1. ต้องเป็นไปตามหลักการของการปฏิบัติทางการผลิตที่ดี (good manufacturing practices)

     2. วัตถุดิบอาหารสัตว์อินทรีย์ หรือวัตถุดิบที่อยู่ระหว่างการปรับเปลี่ยนเป็นอินทรีย์ ต้องไม่นำมาเป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์อินทรีย์พร้อมกันกับวัตถุดิบอาหารสัตว์ชนิดเดียวกันที่ผลิตโดยวิธีที่ไม่ใช่อินทรีย์

การแสดงฉลากและการกล่าวอ้าง

     1. ผลิตภัณฑ์สามารถแสดงเครื่องหมายรับรอง “ Organic Thailand ” ต้องมีส่วนประกอบที่เป็นอินทรีย์ตั้งแต่ 95 % ขึ้นไป
     2. ไม่แสดงฉลากแต่ให้ใช้คำว่า “ ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบจากผลิตผลอินทรีย์ ” จะทำได้ต่อเมื่อผลิตภัณฑ์มีส่วนประกอบจากการผลิตแบบอินทรีย์ < 95 % แต่ > 70 %
     3. ไม่แสดงฉลากแต่ให้ใช้คำว่า “ ผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ช่วงปรับเปลี่ยนเป็นอินทรีย์ ” ได้หากผลิตภัณฑ์อยู่ในช่วงปรับเปลี่ยนเป็นอินทรีย์
     4. ผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ต้องมาจากการผลิตแบบอินทรีย์อย่างน้อย 95 % ของน้ำหนักแห้ง

ระบบการตามสอบและ การเก็บบันทึกข้อมูล

     1. ต้องระบุชื่อหรือรหัสแต่ละสถานที่ผลิตที่แยกกัน มีการบันทึกชื่อ ที่ตั้ง หรือรหัส บนแผนที่ มีการบันทึกชื่อ ที่ตั้ง หรือรหัส ในเอกสารและบันทึกข้อมูลทั้งหมด ที่อ้างถึงสถานที่ตั้ง
     2. ต้องเก็บรักษาบันทึกข้อมูลไว้อย่างน้อย 5 ปี

               หากมีท่านใดสนใจในเนื้อหาข้องต้นนี้ ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://e-book.acfs.go.th/Book_view/293