TH EN
A A A

การพัฒนาชุมชนเครือข่ายในการจัดการการกัดเซาะชายฝั่ง ในจังหวัดเพชรบุรี

5 October 2564   

การพัฒนาชุมชนเครือข่ายในการจัดการการกัดเซาะชายฝั่ง ในจังหวัดเพชรบุรี

 

ประจำเดือนตุลาคม  2564

     1. ที่มาของปัญหา :
          - จังหวัดเพชรบุรีเป็นพื้นที่หนึ่งที่มีพื้นที่ถูกกัดเซาะมากกว่าอัตรา 5 เมตรต่อปี (จัดเป็นพื้นที่วิกฤต)
          - เพราะชายฝั่งเป็นหาดโคลน ตั้งเเต่เขตจังหวัดสมุทรสงครามลงไปจนถึงปลายเเหลมผักเบี้ยระยะทางยาวประมาณ 44 กิโลเมตร
          - พบพื้นที่กัดเซาะรุนเเรง-ตำบลบางเเก้ว เเละตำบลเเหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านเเหลม มีระยะทางกัดเซาะ 4.8 เเละ 5.6 กิโลเมตร ระยะทางกัดเซาะรวม 10.4 กิโลเมตร อัตราการกัดเซาะมากกว่า 5 เมตรต่อปี
          - พบพื้นที่กัดเซาะปานกลางที่ตำบลปากทะเล ตำบลปึกเตียน ตำบลหนองขนาน เละตำบลเจ้าหาดสำราญ ตำบลชะอำ ตำบลบางเก่า เเละตำบลหนองศาลา ระยะทางกัดเซาะรวม 39.3 กิโลเมตร อัตราการกัดเซาะ 1-5 เมตรต่อปี

     2. วัตถุประสงค์ของการวิจัย :
          - ศึกษาการจัดการการกัดเซาะชายฝั่งของชุมชนในจังหวัดเพชรบุรี
          - จัดการกระบวนการเรียนรู้การจัดการการกัดเซาะชายฝั่งให้เเก่ชุมชนในจังหวัดเพชรบุรี
          - ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการป้องกันเเละเเก้ไขปัญหาการจัดการการกัดเซาะชายฝั่งชุมชนในจังหวัดเพชรบุรี
          - พัฒนาชุมชนเเละเครือข่ายในการจัดการการกัดเซาะชายฝั่งชุมชนในจังหวัดเพชรบุรี

     3. ความสำเร็จของงานวิจัย :

          - หลักสูตรการจัดการภัยพิบัตรการกัดเซาะชายฝั่ง
          - เกิดความตระหนักเเละให้ความสำคัญในการจัดการการกัดเซาะชายฝั่ง
          - การบูรณาการเเก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง
          - เกิดเครือข่ายชุมชนในการป้องกันเเละเเก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอย่างยั่งยืน

 

ที่มา : สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร(องค์การมหาชน) - สวภ.

 

Photo Albums