ประจำเดือนกรกฏาคม พ.ศ.๒๕๖๓
ลักษณะอาการโรคใบจุด
1. เริ่มเเรกเป็นจุดสีน้ำตาลเข้มถึงดำ (เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 มิลลิเมตร)
2. ขยายขนาดตามความยาวของเส้นใบ มีรูปร่างไข่หรือรี สร้างวงเเหวนสีเหลืองล้อมรอบแผล และบริเวณกลางเเผลมีอาการเนื้อเยื่อตายเป็นสีเทาเมื่ออายุเเผลมากขึ้น
3. เมื่อเเต่ละเเผลขยายขนาดเชื่อมต่อกันจะปรากฏลักษณะอาการไหม้เป็นสีน้ำตาลเข้มผืนใหญ่ ส่วนมากมักพบอาการไหม้จากขอบใบและมักเริ่มจากปลายใบ
การระบาดของโรคใบจุดกล้วยหอมทอง
- พบการระบาดในช่วงฤดูฝน (มีความชื้นสัมพัทธ์ในแปลงมากกว่า 80%)
- การตัดเเต่งใบกล้วยเเล้วสุมไว้ข้างๆต้น ทำให้เชื้อราเกิด การเเพร่กระจายอย่างต่อเนื่อง
- สภาพอากาศมีความชื้นสูงทำให้สร้างส่วนขยายพันธุ์ (สอปร์) ได้จำนวนมาก
- สปอร์ของเชื้อราปลิวไปทำลายบริเวณใบล่างของต้นกล้วยข้างเคียง
- ใช้หน่อกล้วยจากแปลงที่เป็นโรคมาปลูกในเเปลงอื่นๆ ทำให้เชื้อราเเพร่กระจายเป็นปริมาณกว้าง
คุณสมบัติของกรดซาลิไซลิกที่มีผลต่อการควบคุมโรคพืช
- ชักนำให้พืชเกิดกลไกในการป้องกันตนเอง
- กระตุ้นให้พืชเกิดการสังเคราะห์เอนไซม์ที่ช่วยย่อยผนังเซลล์ของเชื้อราสาเหตุโรค
- กระตุ้นให้พืชสร้างสารพิษขึ้นมา เพื่อยับยั้งการรุกรานของเชื้อจุลินทรีย์สาเหตุโรคซึ่งเป็นการควบคุมโรคพืชทางอ้อม
วิธีการใช้กรดซาลิไซลิก
1. สำรวจแปลงกล้วยตัดใบที่เป็นโรคนำไปเผาทำลายให้ไกลเเหล่งปลูก เพื่อขจัดเเหล่งสะสมของเชื้อราเนื่องจากเชื้อรามีชีวิตอยู่ได้ในซากใบกล้วยที่ตายเเล้ว
2. กำจัดวัชพืชใต้ทรงพุ่มของต้นกล้วย เพื่อลดความชื้นในเเปลงเนื่องจากเชื้อราสาเหตุของโรคจะเจริญเติบโตได้ดีในสภาพที่มีความชื้นสูง
3. เตรียมสารละลายกรดซาลิไซลิก ในอัตรา 4 กรัม ต่อ น้ำสะอาด 20 ลิตร (0.2 กรัม ต่อ ลิตร) คนละลายเป็นเนื้อเดียวกัน
4. ฉีดพ่นสารละลายกรดซาลิก ที่ต้นกล้าช่วงอายุ 5-8 เดือน พ่นทุกสัปดาห์อย่างต่อเนื่อง เพื่อกระตุ้นให้ต้นกล้ามีความต้านทานโรค (ประมาณ 16-20 ครั้ง ก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต)
ค่าใช้จ่าย