TH EN
A A A

การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับการทำนาเกลือทะเล 9 ข้อกำหนด มกษ.9055-2562

18 May 2563   

การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี
สำหรับการนำนาเกลือทะเล

 

ประจำเดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๓

9 ข้อกำหนด มกษ.9055-2562

   1. สถานที่ทำนาเกลือทะเล

     - ควรอยู่ใกล้ทะเล

     - พื้นที่เเปลงนามีลักษณะเป็นพื้นราบ

     - ทำนาเกลือทะเลในบริเวณที่ไม่มีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนที่ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยและคุณภาพของเกลือทะเลธรรมชาติ

   2. การพักน้ำทะเล

    - ควรนำน้ำทะเลในช่วงที่มีคุณภาพดี เข้ามาพักหรือกักเก็บไว้ในวังขังน้ำ และมีปริมาณเพียงพอ

   3. การปฏิบัติในกระบวนการผลิตเกลือทะเลธรรมชาติ

    - มีมาตรการดำเนินการเพื่อป้องกันสิ่งปฏิกูลและสิ่งปนเปื้อน

    - มีการเก็บเศษตะกอนแห้งที่ทับถมอยู่กับพื้นกระทงนา (ขี้เเดด) ออกก่อนเริ่มฤดูการผลิต

    - จัดการกับผลิตผลพลอยได้นอกเหนือจากเกลือทะเลธรรมชาติ เช่น น้ำเค็ม ดีเกลือ ขี้เเดด อย่างเหมาะสม ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งเเวดล้อม

    - มีวิธีการเเยกเกลือจืด ซึ่งมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นเเคลเซียมซัลเฟตออกจากนาตาก ตามความเหมาะสม

    - มีการบำรุงรักษาเเปลงนาเกลือให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมต่อการปฏิบัติงาน

    - จัดการและกำจัดขยะมูลฝอยอย่างถูกสุขลักษณะ

    - การเก็บเกี่ยวเกลือทะเล (การรื้อเกลือ) ต้องปฏิบัติอย่างถูกสุขลักษณะเพื่อป้องกันการปนเปื้อนที่มีผลต่อความปลอดภัยและคุณภาพของเกลือทะเลธรรมชาติ

   4. การปฏิบัติต่อผลิตผลเกลือทะเลธรรมชาติและการเก็บรักษา

    - มีการจัดการสถานที่และวิธีการขนย้าย พัก และเก็บรักษาเกลือทะเลธรรมชาติ อย่างถูกสุขลักษณะ

    - มีการป้องกันผลิตผลเกลือทะเลธรรมชาติ ไม่ให้เกิดการปนเปื้อนจากสิ่งสกปรก/สิ่งที่เป็นอันตรายอื่นๆ จากพื้นดินในบริเวณพักหรือเก็บรักษา

   5. เครื่องมือเเละอุปกรณ์

    - ตรวจสอบอุปกรณ์ เครื่องมือ รวมถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างสม่ำเสมอ

    - ควรมีการอบรม/สอนงานผู้ปฏิบัติงานในการใช้งานอุปกรณ์และเครื่องมือที่อาจก่อให้เกิด อันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานได้อย่างถูกวิธี

    - ทำความสะอาดและบำรุงรักษา อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ในการทำนาเกลือ และขนย้ายเกลือทะเลธรรมชาติอย่างถูกสุขลักษณะ

   6. การจัดการการล้าง/โม่/บด (ถ้ามี) และการบรรจุ

    - ควรทำความสะอาดภาชนะ เครื่องมือ อุปกรณ์ เครื่องใช้ให้สะอาด

    - ควรจัดให้มีระบบป้องกันการปนเปื้อนจากสิ่งแปลกปลอม เช่น เเก้ว/เศษโลหะจากเครื่องจักร สารเคมีที่ไม่พึงประสงค์

    - ควรหลีกเลี่ยงการบรรจุในบริการที่มีฝุ่นละอองที่จะทำให้เกิดการปนเปื้อน หรือมีมาตรการป้องกัน

    - ควรมีการตรวจสอบและคัดเลือกเกลือทะเลก่อนล้าง/โม่/บด (ถ้ามี) และการบรรจุ

    - ควรใช้ภาชนะบรรจุที่สามารถป้องกันการปนเปื้อนของเกลือทะเลได้เพียงพอ

    - การบรรจุในถุงขนาดใหญ่/กระสอบ น้ำหนักบรรจุไม่ควรเกิน 50 Kg

   7. การควบคุมสัตว์พาหะนำเชื้อ

    - มีการป้องกันไม่ให้มีสัตว์เลี้ยงอยู่ในพื้นที่ปฏิบัติงาน โดยเฉพาะบริเวณเก็บเกี่ยว บรรจุ เเละเก็บรักษา ผลผลิตเกลือทะเลธรรมชาติ

    - มีการป้องกันมิให้มีสัตว์พาหะนำเชื้อเข้ามาภายในบริเวณที่เก็บรักษาผลผลิตเกลือทะเลธรรมชาติ รวมถึงบริเวณการล้าง/โม่/บดถ้ามี) และการบรรจุ

   8. สุขลักษณะส่วนบุคคล

    - ห้ามไม่ให้บุคลากรที่เจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อที่อาจส่งผ่านสู่อาหารได้ เข้าไปในบริเวณปฏิบัติงาน

    - บุคลากรที่ปฏิบัติงานประจำควรมีความรู้และได้รับการฝึกอบรมเรื่องสุขลักษณะที่ควรปฏิบัติ

    - ผู้ปฏิบัติงานต้องล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังใช้ห้องสุขา

    - ควรสวมชุดสำหรับการปฏิบัติงานที่เหมาะสมและสะอาด

    - ผู้ปฏิบัติงานต้องล้างเท้า/สวมรองเท้า ที่สะอาดก่อนปฏิบัติงานในการเก็บเกี่ยวและเหมาะสม รวมทั้งปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

    - ควรจัดทำสื่อ เช่น ป้ายประกาศ รูปภาพ หรือสัญลักษณ์ เพื่อเเนะนำด้านสุขลักษณะส่วนบุคคล ที่ผู้ปฏิบัติงานเข้าใจและสามารถปฏิบัติตามได้ง่าย

   9. ระบบเอกสารและบันทึกข้อมูล

    - บันทึกข้อมูลของกระบวนการผลิตเกลือทะเล เช่น รหัสแปลงนาและข้อมูลประจำเเปลงนา รวมทั้ง วัน เดือน ปี ที่นำน้ำทะเลเข้าเก็บเกี่ยว และบรรจุ

    - ปริมาณเกลือทะเลธรรมชาติที่เก็บเกี่ยวได้ในเเต่ละกระทงนา

    - ข้อมูลผู้รับซื้อหรือเเหล่งที่นำผลิตผลไปจำหน่ายรวมถึงปริมาณที่จำหน่าย และข้อมูลการใช้พาชนะขนส่ง

    - ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการฝึกอบรม/สอนงาน

    - เก็บรักษาบันทึกข้อมูลการปฏิบัติงานและเอกสารสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการ)ฏิบัติงานไว้อย่างน้อย 3 ปี ของการผลิตติดต่อกัน

 

ที่มา : สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรเเละอาหารเเห่งชาติ