การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชสมุนไพร มี 8 ข้อ
ประจำเดือนตุลาคม พ.ศ.2562
น้ำ
► น้ำที่ใช้ในเเปลงปลูก ต้องมาจากเเหล่งน้ำที่ไม่อยู่ในสภาพเเวดล้อมที่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนในผลิตผล
► น้ำที่ใช้ในการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว ต้องสะอาด มีคุณภาพมาตรฐาน
พื้นที่ปลูก
► ไม่อยู่ในสภาพเเวดล้อมซึ่งก่อให้เกิดการปนเปื้อนในผลิตผล และพื้นที่ที่ใช้ในการเพาะปลูกต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
วัตถุอันตรายทางการเกษตร
► หากมีการใช้ให้ใช้ตามคำเเนะนำ หรืออ้างอิงคำเเนะนำของกรมวิชาการเกษตร
► ผู้ปฏิบัติงาน ต้องมีความรู้ในการใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตรที่ถูกต้องเเละมีอุปกรณ์ในการป้องกันอันตรายจากสารพิษ
การจัดการคุณภาพในกระบวนการผลิตก่อนการเก็บเกี่ยว
► เมล็ดพันธ์ุ หรือส่วนขยายพันธุ์ตรงตามพันธุ์/ชนิด
► ใช้วิธีการปลูกและการดูเเลรักษาที่เหมาะสม ตามชนิดของพืชสมุนไพรโดยคำนึงถึงการผลิตสารสำคัญ
► มีวิธีการให้น้ำที่เหมาะสมกับสภาพเเวดล้อม และความต้องการของพืชสมุนไพร โดยคำนึงถึงการผลิตสารที่สำคัญ
การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว
► เก็บเกี่ยวพืชสมุนไพรเเต่ละชนิดในระยะเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงปริมาณสารสำคัญ
► เก็บเกี่ยวด้วยวิธีการที่เหมาะสมเเละถูกสุขลักษณะขึ้นอยู่กับชนิดของพืชสมุนไพร
► มีการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว และ/หรือลดความชื้นที่เหมาะสมและถูกสุขลักษณะ
การเก็บรักษา และการขนย้าย
► สถานที่เก็บพืชสมุนไพรต้องถูกสุขลักษณะ สามารถป้องกันความชื้นจากภายนอกและการปนเปื้อนจากวัตถุอันตรายและสัตว์พาหะนำโรคได้
► ภาชนะบรรจุต้องสะอาด ปราศจากสิ่งที่เป็นอันตรายและกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ รวมทั้งสามารถป้องกันแสงหรือพรางเเสงได้
► มีมาตรการป้องกัน ไม่ให้พืชสมุนไพร มีความชื้นเพิ่มขึ้นระหว่างการขนย้าย
สุขลักษณะส่วนบุคคล
► ผู้ปฏิบัติงานมีความรู้ความเข้าใจ หรือได้รับการฝึกอบรมด้านสุขลักษณะส่วนบุคคล
► มีสิ่งอำนวยความสะดวกด้านสุขลักษณะส่วนบุคคลที่เพียงพอและอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
บันทึกข้อมูลและการตามสอบ
► เอกสารและการบันทึกข้อมูล ได้เเก่ การใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร การปฏิบัติก่อนหรือหลังการเก็บ การฝึกอบรมสุขลักษณะส่งนบุคคลและผลการตรวจสุขภาพ
► เก็บรักษาบันทึกข้อมูล การปฏิบัติงานและเอกสารสำคัญที่เกี่ยวข้องไว้อย่างน้อย 2 ปี
*สามารถอ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ คลิก