วิวัฒนาการสารกำจัดศัตรูพืช
ประจำเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2562
ยุคก่อนประวัติศาสตร์
-วัสดุและสารเคมีตามธรรมชาติถูกนำมาใช้ในการควบคุมศัตรูพืช
ยุคโบราณ ( 10,000 ปี ก่อนคริสตกาล-ศตวรรษที่ 5 )
ชาวสุเมเรียน เป็นชนชาติเเรกที่ใช้สารประกอบซัลเฟอร์ควบคุมแมลงศัตรูพืช ตั้งเเต่ 4,500 ปีก่อนคริสตกาล
บันทึกชาวกรีก-โรม ระบุเเนวทางควบคุมศัตรูพืชโดยใช้ควันไฟเกลือ จนถึงสารสกัดจากพืชดอกวงศ์เบญจมาศ
ชาวจีน ใช้สารประกอบของปรอท
ยุคกลาง - ยุคเรเนซองส์ ( ศตวรรษที่ 5-18 )
-บันทึกของชาวยุโรปโดยเฉพาะชาวฝรั่งเศสมีการใช้สารสกัดจากยาสูบสารกลุ่มไซยาไนด์รวมทั้งสารเคมีอื่นๆ เช่น สารออกฤทธิ์จากน้ำส้มควัน ไม้ในการกำจัดศัตรูพืช
ยุควิกตอเรีย ( ศตวรรษที่ 18-19 )
-ชาวยุโรปเริ่มผลิตสารเคมีสังเคราะห์ เช่น DDT, BHC, Paris Green เเละ Bordeaux Mixture ตลอดจนถึงมีพัฒนาการของการสกัดสารจากพืช เช่น Rotenone เเละ Pyrethrins ในการกำจัดแมลงและโรคจากเชื้อราในพืชปลูก
ศตวรรษที่ 20
-สารกำจัดศัตรูพืชกลุ่มสำคัญ ได้เเก่ ออร์เเกโนคลอรีน ถูกผลิตขึ้นเป็นจำนวนมากในช่วงปี 1930-1970
ศตวรรษที่ 21
-ประเทศชั้นนำหันมาทบทวนอันตรายของสารกำจัดศัตรูพืชอย่างจริงจัง เช่น ผลของ Neonics ต่อเเมลงผสมเกสรผลกระทบของสารกลุ่มรบกวนการทำงานของต่อมไร้ท่อ
3 สาร ประเด็นร้อน
คลอไพริฟอส (Chlorpyrifos) เมื่อปี 1965 Dow Chemical (ขณะนั้น) เปิดตัวสารกำจัดแมลงชนิดใหม่ในกลุ่มออร์เเกโนฟอสเฟต ชื่อ "คลอไพริฟอส" ซึ่งมีฤทธิ์ในการการทำลายแมลงศัตรูพืชได้อย่างกว้างขวาง สารคลอไพริฟอสเริ่มใช้ในสหรัฐอเมริกาเพื่อการควบคุมเเมลงทั้งที่ทำลายใบและที่เข้าทำลายพืชทางดิน คลอไพริฟอสถือเป็นสารที่ได้รับความนิยมในการใช้เป็นอย่างมาก แต่กระนั้นสารชนิดนี้ถูกจัดให้เป็น "สารที่มีความเสี่ยงความเป็นพิษต่อมนุษย์" (Moderately Toxic) และมีงานวิจัยชี้ให้เห็นอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้หรือสะสมของคลอไพริฟอสทั้งต่อมนุษย์และสิ่งเเวดล้อมออกมาอย่างต่อเนื่อง สถานการณ์รณรงค์และการเสนอแบบการใช้สารกำจัดแมลงคลอไพริฟอสทั่วโลกเป็นไปอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกาที่มีการฟ้องร้องต่อศาลให้พิจารณาระงับการใช้งาน และล่าสุดเมื่อเดือนสิงหาคม 2561 ศาลรัฐบาลกลางสหรัฐฯ สั่งให้สำนักงานปกป้องสิ่งเเวดล้อม (EPA) ห้ามจำหน่ายคลอไพริฟอสภายใน 60 วัน
ไกลโฟเสต (Glyphosate) ในปี 1917 (2514) John E.Franz ได้พัฒนาสารเคมีสำหรับกำจัดวัชพืชที่สำคัญคือ Glyphosate เพื่อจำหน่ายในเครื่องหมายการค้า Roundup ของบริษัท Monsanto สารดังกล่าวได้รับความนิยมอย่างสูงทั่วโลก อีกทั้งบริษัทยังกลายเป็นผู้ผลิตรายเเรกที่พัฒนาพันธุ์ถั่วเหลืองด้วยเทคนิคพันธุวิศกรรมจนมีความต้านทานสาร Glyphosate ในชื่อ "Roundup-Ready Soybean" ที่สามารถผลิตจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ และขยายการใช้เทคนิคไปยังพืชอื่นๆ ปัจจุบันไกลโฟเสตเป็นหนึ่งในสารกำจัดศัตรูพืชที่องค์กรสาธารณประโยชน์เรียกร้องให้ลดทอนหรือห้ามใช้ โดยให่เหตุผลว่าพบความเป็นอันตรายรวมทั้งยังพบการใช้มากเกินความจำเป็น (Overuse) จนกระทั่งตกค้างในสิ่งเเวดล้อม โดยเฉพาะจากการใช้ไกลโฟเสตร่วมกับพืชพันธุ์ต้านทานและเป็นจุดเริ่มต้นของการต่อต้านพืชที่ได้จากเทคนิคดัดเเปรพันธุกรรม
พาราควอต (Paraquat) พาราควอตถูกคิดค้นขึ้นเป็นครั้งเเรก 1882 แต่เริ่มเป็นที่รู้จักกันในวงกว้างประมาณปี 2510 ในฐานะสารกำจัดวัชพืชชนิดไม่เลือกทำลาย (Non-Selective Herbicide)ที่สามารถใช้ประโยชน์ในการเตรียมเเปลงปลูกพืชโดยเฉพาะที่ใช้รูปแบบการไม่ไถพรวน (No-Tillage) พาราควอตเป็นสารกำจัดวัชพืชที่ออกฤทธิ์รุนเเรงและรวดเร็ว เเต่ด้วยฤทธิ์ที่รุนเเรง ทำให้หลายประเทศเริ่มพิจารณาอันตรายของสารพาราควอต เช่น ความเสี่ยงความเป็นพิษต่อระบบประสาท และเริ่มห้ามหรือจำกัดการใช้โดยต้องมีการควบคุม เช่น ในสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันกำหนดให้สารพาราควอตเป็นสารที่เกษตรกรต้องมีใบอนุญาตในการใช้เท่านั้น