ประจำเดือนเมษายน พ.ศ.2562
ในอดีตการใช้สารกำจัดศัตรูพืชกับพื้นที่เพาะปลูกทางการเกษตรองค์กรทั่วโลกหันมาให้ความสนใจและเเนวทางการเเก้ไขสะสมในสภาพแวดล้อมเป็นระยะเวลานานซึ่งปัจจุบันมีเเนวคิดที่มุ่งหวังแก้ปัญหาสิ่งเเวดล้อมในระยะยาว
เกษตรอินทรีย์ (Organic Farming)
"ระบบการผลิตที่ให้ความสำคัญต่อความยั่งยืนของสุขภาพดินระบบนิเวศ และมนุษย์" โดยเกษตรอินทรีย์เป็นระบบที่พึ่งพาอาศัยระบบนิเวศ ธรรมชาติ ชีวภาพ และปฏิเสธการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและปุ๋ยเคมี โดยนอกเหนือจากการปฏิเสธสารเคมี เกษตรอินทรีย์ยังให้ความสำคัญต่อการสร้างสมดุลของวงจรธาตุอาหารการอนุรักษ์ระบบนิเวศทางการเกษตรและช่วยฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งถือได้ว่าเกษตรอินทรีย์เป็นการบริหารจัดการฟาร์มเชิงสร้างสรรค์ เเละมีการกำกับดูแลที่เป็นระบบ
Biopesticides
Biopesticides เป็นสารกำจัดศัตรูพืชที่ได้จากวัสดุธรรมชาติ (พืช สัตว์ เเละจุลินทรีย์) ที่มีกลไกสามารถฆ่าหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของศัตรูพืชทางการเกษตรได้โดยตรง มีการสลายตัวของสารอย่างรวดเร็ว และมีความเป็นพิษต่ำกว่าสารกำจัดศัตรูพืชทั่วไป ทำให้สามารถหลีกเลี่ยงปัญหามลพิษที่เกิดจากสารกำจัดศัตรูพืชได้ โดยสาร Biopesticides จะส่งผลกระทบทั้งศัตรูพืชเป้าหมาย และสิ่งมีชีวิตโดยรอบ
เกษตรธรรมชาติ (Natural Farming)
เกษตรธรรมชาติมีแนวทางเกษตรกรรมที่จะไม่ได้อยู่บนพื้นฐานความคิดทางวิทยาศาสตร์ เเต่เน้นแนวทางตามธรรมชาติไม่เข้าแทรกแซงธรรมชาติมากจนเกินไป โดยมีเเนวทางที่ยึดเป็นหลักสำคัญ 4 ประการ ได้เเก่
1. การไม่ไถพรวนดิน
2. งดเว้นการใส่ปุ๋ย
3. ไม่กำจัดวัชพืช
4. ไม่ใช้สารกำจัดศัตรูพืช
การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agriculture Practices : GAP)
องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้กำหนดหลักการของการทำเกษตร GAP ที่จะมีการพิจารณาตั้งเเต่พื้นที่การปลูก การดูเเลรักษา การเก็บเกี่ยว และการจัดการหลังเก็บเกี่ยวเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน ได้ผลผลิตที่คุ้มค่ากับการลงทุนและกระบวนการผลิตจะต้องปลอดภัยต่อเกษตรกรและผู้บริโภค รวมไปถึงมีการใช้ทรัพยากรที่เกิดประโยชน์สูงสุด มีความยั่งยืนและไม่ก่อให้เกิดมลพิษ
สำหรับประเทศไทย ได้มีการนำหลัก GAP มาประยุกต์ใช้ทั้งสินค้าพืช ปศุสัตว์ และประมงโดยมีข้อกำหนดกฎเกณฑ์และวิธีการตรวจประเมินที่สอดคล้องกับ GAP สากล ซึ่งมีกรมวิชาการเกษตรและสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารเเห่งชาติ (มกอช.) เป็นหน่วยงานกำกับดูเเลเป็นผู้กำหนดข้อปฏิบัติสำหรับการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (GAP) เพื่อใช้เป็นมาตรฐานการผลิตพืชในระดับเพาะปลูกของประเทศตามลำดับ โดยในส่วนของ มกอช. ที่เป็นหน่วยงานกำหนดมาตรฐานได้มีการจัดทำคู่มือมาตรฐานสินค้าเกษตร (มกษ.) สำหรับการเพาะปลูกพืชและระบบตามหลัก GAP โดยมาตรฐานที่สำคัญ เช่น มกษ.9001-2556 การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชอาหาร มกษ.9000-2557 เกษตรอินทรีย์ และต่อเนื่องไปจนถึงมาตรฐานการผลิต (Good Manufacturing Practice : GMP) มกษ.9035-2553 การปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงคัดบรรจุผักและผลไม้สด ที่ถือเป็นห่วงโซ่ต่อยอดการปฏิบัติด้านมาตรฐานที่ดีของประเทศไทย