TH EN
A A A

“ผักตามฤดูกาล" ประโยชน์มากมาย หากินได้ตลอดปี

1 March 2566   

“ผักตามฤดูกาล” ประโยชน์มากมาย หากินได้ตลอดปี

ประจำเดือนมีนาคม 2566

กินผักตามฤดูอย่างไรใน 12 เดือน

     1. ฤดูร้อน (มีนาคม - พฤษภาคม) : ผักที่จะขึ้นได้ดีในฤดูนี้จะมีลักษณะที่ทนแล้งหรือชอบน้ำน้อย เช่น ฟักทอง, มะระ, บีทรูท, แตงกวา, คะน้า, ใบเหลียง, ผักหวาน, บวบ และมันมือเสือ เป็นต้น
         เมนูจากผักตามฤดูกาลในฤดูร้อน : แกงฟักทอง, มันลืมกลืน เป็นต้น

     2. ฤดูฝน (มิถุนายน - กันยายน) : ผักที่ขึ้นได้ดีในฤดูนี้จะเป็นผักที่มีน้ำมาก หรือผักที่เจริญเติบโตในน้ำอยู่แล้ว เช่น กระเจี๊ยบ, ผักกูด, ผักโขม, ชะอม, ถั่วฝักยาว, ตำลึง, ฟักเขียว, สายบัว และผักบุ้ง เป็นต้น
         เมนูจากผักตามฤดูกาลในฤดูฝน : บะหมี่น้ำกระเจี๊ยบเขียว, ไข่ชะอมทอด, ยำผักกูดทรงเครื่อง

     3. ฤดูหนาว (ตุลาคม - กุมภาพันธ์) : ผักในฤดูนี้มักเป็นผักที่กินใบเป็นส่วนใหญ่ และชอบอากาศหนาว ๆ เช่น กะหล่ำดอก, กะหล่ำปลี, บรอกโคลี, ปวยเล้ง, แครอท, ผักกาดขาว, ผักสลัด, และผักกาดหอม เป็นต้น
         เมนูจากผักตามฤดูกาลในฤดูหนาว : ทอดมันกะหล่ำดอก, ต้มเลือดหมูตังโอ๋

ประโยชน์ของการกินผักตามฤดูกาล

     • ประหยัดค่าใช้จ่าย เนื่องจากผักตามฤดูกาลจะมีปริมาณมากและมีคุณภาพดี เราจึงได้กินผักในราคาย่อมเยาและยังหาซื้อง่ายอีกด้วย
     • ปลอดภัยต่อสุขภาพ ผักตามฤดูกาลจะเป็นการเก็บเกี่ยวตามธรรมชาติ ไม่พึ่งสารเคมี หรือสารเร่งให้ปัจจัยเหมาะสมกับการเจริญเติบโต จึงช่วยลดการเสี่ยงภัยจากสารเคมีในผัก ต่างจากการปลูกผักนอกฤดูกาลที่มีโอกาสใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลงมากกว่า
     • ไม่ฝืนธรรมชาติและระบบนิเวศ เช่น ฤดูหนาวผักใบต่าง ๆ จะโตได้ดีเพราะแมลงรบกวนน้อย ถ้านำมาปลูกในฤดูร้อนจะทำให้ผักไม่ทนต่อโรค
     • เป็นการส่งเสริมเกษตรกรให้มีทางเลือกการปลูกผักที่มากขึ้น กระจายรายได้สู่ชุมชน สร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน และยังสนับสนุนให้คนเรียนรู้ปลูกผักกินเองตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

อ้างอิงข้อมูล : https://www.wongnai.com/food-tips/seasonal-vegetable