ฮอร์โมนพืช
(Plant Hormones)
ประจำเดือนธันวาคม 2565
ฮอร์โมนพืช เป็นสารเคมีที่พืชสร้างขึ้นมาเพื่อควบคุมการเจริญเติบโตของพืชในแต่ละส่วน โดยฮอร์โมนพืชมีทั้งชนิดที่กระตุ้นการเจริญเติบโต และระงับการเจริญเติบโต ฮอร์โมนพืชไม่ใช่สารอาหารของพืช แต่เป็นสารเคมีที่พืชใช้ในปริมาณน้อย ๆ เพื่อส่งเสริมและควบคุมการเติบโตของพืช ซึ่งรวมไปถึงการเปลี่ยนสภาพของเซลล์และเนื้อเยื่อด้วย เซลล์พืชไม่สามารถตอบสนองกับฮอร์โมนได้ทุกเซลล์ ซึ่งเซลล์แต่ละกลุ่มจะตอบสนองกับฮอร์โมนในจังหวะเวลาจำเพาะของตัวเอง พืชต้องการฮอร์โมนเฉพาะที่และเฉพาะเวลาในรอบวงจรการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งฮอร์โมนพืชที่พบในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม คือ
ออกซิน
ผลของฮอร์โมน :
- เกิดการเจริญเข้าหาเเสงของปลายยอดพืช
- กระตุ้นการเเบ่งเซลล์ให้มีการยืดขยาย
- ยับยั้งการเจริญตาข้าง
- เร่งการงอกรากกิ่งตอน/ปักชำ
- กระตุ้นให้ติดผลโดยไม่ต้องมีการปฏิสนธิ เช่น องุ่น เเตงโม
สารที่คุณสมบัติคล้ายกัน : NAA / IBA / 2,4-D เเหล่งที่สร้าง : เนื้อเยื่อเจริญปลายอ่อน ใบอ่อน ผลอ่อน
จิบเบอเรลลิน
เเหล่งที่สร้าง : เมล็ดที่กำลังงอกหรือเจริญ เนื้อเยื่อเจริญ ปลายยอด ปลายราก ผล
ผลของฮอร์โมน :
- กระตุ้นการเเบ่งเซลล์เเละการยืดตัวของเซลล์ โดยเฉพาะเซลล์ระหว่างข้อ ทำให้ข้อยืดตัว
- กระตุ้นการงอกของเมล็ด
- เปลี่ยนเพศดอกในพืชวงศ์เเตง
สารที่คุณสมบัติคล้ายกัน : มีมากกว่า 70 ชนิด เเต่นิยมใช้ GA3
ไซโตไคนิน
เเหล่งที่สร้าง : เนื้อเยื่อเจริญ , ที่ราก , บริเวณที่มีการเเบ่งเซลล์
ผลของฮอร์โมน :
- กระตุ้นการเเบ่งเซลล์ การเจริญของตาข้าง เเละเอ็มบริโอ
- ใช้ยืดอายุไม้ตัดดอก
สารที่คุณสมบัติคล้ายกัน : BA / TDZ / zeatin / kinetin
กรดแอบซิสิค
เเหล่งที่สร้าง : เซลล์ที่มีคลอโรพลาสต์ หรือ อะไมโลพลาสต์
ผลของฮอร์โมน :
- กระตุ้นการปิดปากใบ
- ทำให้พืชมีการพักตัว (dormancy)
- ยับยั้งการเจริญเเละการยืดตัวของเซลล์
สารที่คุณสมบัติคล้ายกัน : chlorflurenol , maleic hydrazide
เอทธิลีน
เเหล่งที่สร้าง : สร้างได้เกือบทุกส่วนของพืชเเต่พบมากในผลสุกเเละเนื้อเยื่อที่เสื่อมตามอายุ
ผลของฮอร์โมน :
- กระตุ้นการสุกของผลไม้ , การงอกของเมล็ด
- กระตุ้นการหลุดล่วงของ ใบ ดอก เเละผล เเละการออกดอกของพืชบางชนิด เช่น สัปปะรด
สารที่คุณสมบัติคล้ายกัน : เอทิฟอน (ethephon) ถ่านเเก๊ส (calcium carbide) ผสมน้ำ
อ้างอิงที่มา : https://www.doa.go.th/fc/nakhonsawan/?p=3681 เเละ https://sites.google.com เเละ FB fanpage : Easy biology by DrPukan