การจัดการสัตว์เลี้ยงในภาวะน้ำท่วม
ประจำเดือนธันวาคม 2565
ในช่วงฤดูฝน หรือในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัย ควรมีการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์น้ำท่วม เพื่อลดการเกิดโรคที่อาจเป็นอันตรายทั้งในสัตว์เเละคน เพราะในภาวะน้ำท่วม พื้นที่อยู่อาศัยมีจำกัดทำให้คนเเละสัตว์จะอยู่ใกล้ชิดกันมากขึ้น อีกทั้งยังมีเชื้อโรคเเละพยาธิต่างๆ ที่เเพร่มากับน้ำท่วม ขยะมูลฝอยเเละสิ่งปฎิกุล ซึ่งสัตว์อาจสัมผัสโดยตรงหรือติดจากการกินอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ หากสัตว์เป็นโรคก็จะมีโอกาสเเพร่โรคติดต่อจากสัตว์มาสู่คนเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ความเครียดจากสภาวะภัยพิบัติส่งผลให้ร่างกายทั้งคนเเละสัตว์อ่อนเเอเจ็บป่วยง่าย เเละความเครียดยังทำให้สัตว์บางชนิดก้าวร้าวเเละดุร้ายมากขึ้น คนที่อยู่ใกล้ชิดมีโอกาสได้รับอันตรายได้
สำหรับสัตว์ที่อยู่รวมกันในสถานที่พักพิงชั่วคราว ก็อาจเป็นเเหล่งเเพร่เชื้อโรคที่มีอยู่ในสัตว์ไปยังสัตว์อื่น คน เเละสิ่งเเวดล้อมโดยรอบได้ง่าย
เเยกตามชนิดของเชื้อโรค ได้เเก่
• โรคจากเชื้อเเบคทีเรียเเละไวรัส เช่น โรคเลปโตสไปโรสิส โรคอุจจาระร่วงจากเชื้อเเบคทีเรียซัลโมเนลล่าเเละเชื้ออีโคไล โรคพิษสุนัขบ้า โรคไข้เเมวข่วน (Cat scratch fever) เป็นต้น
• โรคจากพยาธิภายนอก เช่น หมัด เห็บ ไร จากหนู เเมว สุนัข เป็นต้น ทำให้เกิดโรคต่างๆ เช่น
→ โรคภูมิเเพ้สำหรับคนที่เเพ้น้ำลายเห็บ หมัด
→ โรคผิวหนัง เช่น โรคกลาก
→ โรคคลายน์ (โรคนี้ยังมีน้อยในประเทศไทย)
→ โรคติดต่อริตเกตเซีย
• โรคจากพยาธิภายใน เช่น พยาธิตัวกลม (Toxocara) พยาธิปากขอ (Ancylostoma)
โรคบางโรคที่สัตว์ติดเชื้อหรือหลังจากหายป่วยเเล้ว เเม้ไม่มีอาการยังอาจปล่อยเชื้อเหล่านี้ติดต่อมาสู่คน หรือสัตว์อื่นได้ เช่น โรคหนอนพยาธิ โรคเลปโตสไปโรสิส โรคซัลโมเนลโลซิส เป็นต้น
ประชาชนควรปฏิบัติ ดังนี้
1. จัดเตรียมอาหารสัตว์และน้ําสะอาดไว้ให้พร้อมใช้ยามฉุกเฉิน
2. งดการนําสัตว์ใหม่เข้ามาในพื้นที่ หากจําเป็นต้องทราบประวัติ และแยกสัตว์ใหม่ออกจากสัตว์ที่มีอยู่เดิม เพื่อลดความเสี่ยงในการนําเชื้อโรคเข้าพื้นที่
3. ให้ยาถ่ายพยาธิและกําจัดเห็บ หมัด ไร (ถ้าเป็นไปได้ควรมีการตรวจสุขภาพสัตว์ด้วย)
4. ฉีดวัคซีนป้องกันโรคที่อาจติดต่อถึงคนได้ เช่น วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า เป็นต้น
5. อพยพย้ายสัตว์ไปยังพื้นที่ปลอดภัย กรณีไม่สามารถเคลื่อนย้ายสัตว์ได้ยกพื้นที่เลี้ยงสัตว์ให้สูงขึ้นและพ่นทําลายเชื้ออย่างถูกต้อง และหมั่นสังเกตดูอาการของสัตว์ว่ามีอาการป่วยหรือไม่
6. กรณีปัญหาเกี่ยวกับสัตว์ หรือพบสัตว์ป่วยให้แยกสัตว์ออกจากฝูง รีบแจ้งปศุสัตว์ในพื้นที่ หรือ Call Center กรมปศุสัตว์หมายเลข 08 5660 9906
ผู้เลี้ยงควรปฏิบัติต่อสัตว์ ดังนี้
1. เพิ่มความระมัดระวังการถูกสัตว์กัดหรือข่วน หากถูกสัตว์กัด ข่วน ต้องล้างแผลด้วยสบู่และน้ำสะอาด ใส่ยาเบทาดีนและรีบไปพบแพทย์ กรณีที่แพทย์ให้วัคซีนต้องไปรับให้ครบและตรงตามกําหนดนัด
2. ทุกครั้งหลังสัมผัสสัตว์ควรล้างมือด้วยสบู่และน้ำ
3. คอกสัตว์หรือเพิงพัก อุปกรณ์ที่ใช้กับสัตว์เลี้ยง ควรทําความสะอาด ด้วยผงซักฟอกตามด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อเป็นประจํา พร้อมทั้งสวมถุงมือหรือถุงพลาสติกกันน้ำทุกครั้ง โดยต้องปฏิบัติตามคําแนะนําของฉลากอย่างระมัดระวัง
4. ทั้งคนและสัตว์ ควรลดการสัมผัสกับสัตว์ภายนอกบ้าน
5. เศษอาหารและอุจจาระ ของคนและของสัตว์เลี้ยง ต้องเก็บทิ้งให้เป็นที่อย่าปล่อยทิ้งให้เป็นแหล่งของแมลงวัน หนูหรือสัตว์อื่นๆ ซึ่งอาจนําเชื้อโรคเข้ามาสู่คนและสัตว์เลี้ยงได้
6. หากมีปัญหาเกี่ยวกับสัตว์ สัตว์ป่วย สัตว์ใหญ่ตายหรือสัตว์ตายจํานวนมาก ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์พื้นที่มาดําเนินการหรือ Call Center กรมปศุสัตว์หมายเลข 08 5660 9906
7. ไม่ควรนําสัตว์ที่ตายโดยไม่ทราบสาเหตุมารับประทานเพราะอาจทําให้เชื้อแพร่กระจายและเจ็บป่วยได้หากเป็นไปได้ควรแยกพื้นที่เลี้ยงสัตว์จากพื้นที่อยู่อาศัย หรือทําที่กั้นแยกชนิดสัตว์ไม่ให้ประปนกัน
8. หากเป็นไปได้ควรแยกพื้นที่เลี้ยงสัตว์จากพื้นที่อยู่อาศัย หรือทําที่กั้นแยกชนิดสัตว์ไม่ให้ประปนกัน
นอกจากปฏิบัติตัวตามข้อ 1-8 แล้ว ควรปฏิบัติเพิ่มเติม ดังนี้
9. ภายหลังน้ำท่วมจะมีซากสัตว์ตาย ปรากฏในที่ต่างๆ ซึ่งจะต้องจัดการเก็บฝังโดยเร็ว
10. สัตว์ที่มีชีวิตอยู่ซึ่งอดอาหารมาเป็นเวลานานควรรีบให้อาหารและนํากลับคืนให้เจ้าของ
อ้างอิงที่มาของข้อมูล : http://dcd.ddc.moph.go.th/uploads/pdf/pat_3/Rabies/AnimalManagement_ForOfficer.pdf