TH EN
A A A

เพิ่มศักยภาพการส่งออก ผลฝรั่งสดฉายรังสีสู่สหรัฐอเมริกา

20 April 2565   

ฝรั่ง (Guava)

ประจำเดือนพฤษภาคม 2565

ชื่อไทย : ฝรั่ง
ชื่อสามัญ : Guava
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Psidium guajava Linn.
วงศ์ : Myrtaceae             

                ฝรั่งเป็นไม้ยืนต้น สูง 3-10 เมตร ต้นเกลี้ยง เปลือกต้นเรียบใบเดี่ยวกิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม ยอดอ่อนมีขนสั้น ใบเดี่ยวเรียงตางข้ามรูปวงรี กลีบดอกสีขาวร่วงง่าย มีเกสรเพศผู้จำนวนมาก ผลเป็นผลสด ผลดิบสีเขียวกินได้เมื่อสุกเป็นสีเหลือง
                ฝรั่งสุกนำไปทำพายเเละขนมได้หลายชนิด ทำเป็นฝรั่งดอง ฝรั่งเเช่บ๊วย นอกจากนั้นฝรั่งมีฤทธิ์เป็นยาสมุนไพร ใบฝรั่งใช้ดับกลิ่นปาก น้ำต้มใบฝรั่งสด มีฤทธิ์ทางด้านป้องกันลำไส้อักเสบ ท้องเสีย ใช้ทาเเก้ผื่นคัน พุพองได้ น้ำต้มผลฝรั่งตากเเห้ง มีฤทธิ์เเก้คออักเสบเเห้งเสีย ใบรักษาเเผลเเละเเก้ปวดฟัน
                ฝรั่งที่ปลูกในประเทศไทยมีหลายพันธุ์ เเต่ที่นิยมใช้รับประทานผลสด ได้เเก่ ฝรั่งพันธุ์ที่มีผลใหญ่ ผลดก รสอร่อย เช่น พันธุ์กมลสาลี่ เเป้นสีทอง ทูลเกล้า นอกจากนี้ยังมีพันธุ์พื้นเมืองต่างๆ พันธ์ุอินเดีย พันธ์ุจีน เป็นต้นสำหรับฝรั่งที่นำมาใช้เเปรรูป ได้เเก่ พันธ์ุบังมองท์ เเละพันธ์ุคาฮังคูล่า เนื่องจากทั้งสองพันธ์ุนี้มีเนื้อสีชมพู มีกลิ่นหอม รสกลมกล่อม

                การขยายพันธ์ุฝรั่ง : สามารถทำได้หลายวิธี เเต่วิธีที่นิยมใช้เเละได้ผลดี คือ
   1. การตอน : วิธีการเหมือนการตอนกิ่งทั่วไป โดยใช้มีดควั่นกิ่งให้รอยควั่นอยู่ใต้ข้อเล็กน้อย รอยควั่นล่างห่างจากรอยควั่นบนเท่ากับเส้นรอบวงของกิ่งลอกเปลือกไม้เเล้วขูดเยื่อเจริญอกให้หมด จากนั้นนำตุ้มตอนที่บรรจุด้วยขุยมะพร้าวหุ้มให้รอบรอยควั่นเเล้วมัดด้วยเชือกฟางให้เเน่น
   การตัดกิ่งตอน :
  1. หลังจากทำการตอนเเล้วประมาณ 1 เดือนรากจะงอก อย่าเพิ่งรับตัดควรปล่อยให้รากเปลี่ยนเป็นสีนำ้ตาลก่อน
  2. กิ่งฝรั่งที่ตัดออกจากต้น ควรตัดใบเเละกิ่งที่มีมากเกินไปิ้งบ้างเพื่อป้องกันการคายน้ำ เเล้วนำกิ่งตอนไปเเช่ในน้ำให้ท่วมตุ้มตอนประมาณ 1-2 ชั่วโมง เเล้วจึงนำไปชำต่อไป โดยนำกิ่งตอนที่ได้ชำในถุงพลาสติกที่บรรจุดินผสม เมื่อต้นเเข็งเเรงเเล้วจึงนำไปปลูกในเเปลงต่อไป
   2. การติดตา :  วิธีการติดตานี้จะต้องใช้ต้นตอ เเละยอดพันธุ์ที่มีความเเข็งเเรง หลังจากติดตาเเล้วให้นำไปชำต่อประมาณ 4-5 เดือน ก่อนจะนำไปปลูก นอกจากนี้ยังมีการขยายพันธุ์เเบบทาบกิ่ง การปักชำ

                การป้องกันเเละกำจัดโรคเเมลง : โรคที่สำคัญของฝรั่ง
   1. โรคจุดสนิม : เกิดจากเชื้อราเข้าทำลายใบ โดยจะเห็นจุดขนาดเล็ก เริ่มจากจุดสีเขียวเเล้วค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีสนิมเหล็กเเละเป็นขุยคล้ายกำมะหยี่ ถ้าเป็นที่กิ่งจะทำให้เป็นขุยเเละกิ่งเเตกเเห้งตาย
   การป้องกัน : ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น มาเเนบเเละซีเเนบ หากเป็นกิ่งที่อาจใช้สารเคมีดังกล่าวผสมในปูนเเดงข้นๆทาบริเวณที่เป็นโรค

   2. โรคเเอนเเทรคโนส : เกิดจากเชื้อราเข้าทำลายผลอ่อน ผลสุกเเละใบ อาการบนใบจะเห็นเป็นจุดสีน้ำตาลเล็ก แผลอาจทะลุ ถ้าเป็นที่ผลอ่อนจะทำให้มีสีน้ำตาลเเละเน่าเเห้งไปในที่สุด เเต่ถ้าเป็นระยะผลสุกหรือใกล้สุกจะเกิดแผลเน่าสีน้ำตาล อาการจะลุกลาม เเผลจะบุ๋มลงเล็กน้อยมีจ้ำสีคล้ำเเละเมือกสีเเสดปรากฏให้เห็น
   การป้องกัน : ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น บีโนมิล เเคปเเทน โดยพ่นสารเคมีก่อนเก็บผล 1 เดือน

   เเมลงศัตรูฝรั่ง
   1. เเมลงวันทอง : การทำลายเกิดจากเเมลงวันทองวางไข่ที่ใต้ผิวฝรั่งสุก (หรือระยะที่ผิวอ่อน) ตัวอ่อนที่ฟักจากไข่จะเจริญกินเนื้อฝรั่งเป็นอาหารทำให้ฝรั่งอ่อนนิ่มเเละเละในที่สุด
   การป้องกัน : ห่อผลในขณะที่ผวยังเเข็ง มีสีเขียว ขนาดเล็ก การห่ออาจห่อด้วยถุงพลาสติกชั้นเดียว หรือ 2 ชั้น โดยต้องเจาะรูกระดาษห่อชั้นในก้นถุงให้น้ำไหลออกด้วย หรือใช้สารเคมีมาลาไทออนผสมโปรตีนไฮโดรไลเซท เป็นเหยื่อพิษฉีดพ่นในตอนเช้าตรู่เป็นจุดๆ บนใบ้ชเเก่เท่านั้น ต้นละ 1-4 จุด เเต่ละจุดใช้น้ำยาประมาณ 50 ซีซี. พ่นเเค่ให้ใบเปียกเเละพ่นทุกๆ 7 วัน ติดต่อกัน 4-5 ครั้งก่อนเก็บเกี่ยว หากพ่นก่อนการระบาด 1 เดือน จะได้ผลดีกว่าพ่นหลังเเมลงระบาดเเล้ว

   2. เพลี้ยเเป้ง : จะดูดกินน้ำเลี้ยงตามใบอ่อน กิ่งอ่อน เเละช่อดอกทำให้เเห้งเฉาหรือใบผิดรูปร่างเเละผลผลิตลดลง
   การป้องกัน : พ่นด้วยสารละลายอโซดริน 20 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นให้ทั่วต้น ใบ กิ่งอ่อน เเละผลทุกๆ 7 วัน ประมาณ 2-3 ครั้ง เเละหยุดพ่นสารเคมีอย่างน้อย 7 วัน ก่อนเก็บเกี่ยวผล

เพิ่มศักยภาพการส่งออก
ผลฝรั่งสดฉายรังสีสู่สหรัฐอเมริกา

  1. ผลฝรั่งช่วงอายุ 62 วัน หรือมีความเเก่อยู่ที่ 80% เหมาะในการฉายรังสี     
  2. สามารถเก็บรักษาที่ 7 ºC ไว้เป็นระยะเวลา 15-25 วัน
  3. ทดสอบวางจำหน่ายที่ 25 ºC สามารถวางจำหน่ายได้ถึง 6 วัน

บรรจุฝรั่งในถุงพลาสติกชนิดใส (LDPE)
มีประสิทธิภาพมากที่สุด

ข้อดี :
- ลดการสูญเสียน้ำ
- รักษาความเขียวสด
- ชะลอการเกิดน้ำตาล

ห่อผลฝรั่งด้วยฟิมล์ยืดชนิด PVC เหมาะสม
ต่อการเก็บรักษาฝรั่งกิมจูที่ผ่านการฉายรังสี

ข้อดี :
- ผิวเขียวปกติ
- ผลยังมีคุณภาพดี
- เริ่มมีสีน้ำตาลเล็กน้อย

 

ที่มา : ฐานข้อมูลงานวิจัยฝรั่ง Guava Research Database โดย สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)
คลังข้อมูลวิจัยเกษตร โดย สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)