7 ข้อกำหนดการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มไก่เนื้อ (มกษ.6901-2560)
ประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ.2561
ฟาร์มไก่เนื้อ (ฺBroiler Farm) หมายถึง สถานประกอบการที่เลี้ยงไก่เนื้อเพื่อการค้าซึ่งครอบคลุมถึง พื้นที่เลี้ยงไก่ สถานที่เก็บ และการเตรียมอาหารสัตว์ บริเวณสำหรับซากจุดรวมขยะ อาคารต่างๆ สำนักงานและบ้านพักอาศัย
1. องค์ประกอบฟาร์ม
สถานที่ตั้งได้รับการยินยอมจากหน่วยราชการส่วนท้องถิ่นตั้งอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เสี่ยงจากการปนเปื้อนของอันตรายทางกายภาพ เคมี และชีวภาพ มีการวางผังฟาร์มที่เอื้อต่อการปฏิบัติอย่างถูกสุขลักษณะ มีพื้นที่เพียงพอในการเลี้ยงไก่เนื้อโดยคำนึงถึงหลักสวัสดิภาพสัตว์ และเเยกพื้นที่การปฏิบัติงานเป็นสัดส่วน
2. การจัดการฟาร์ม
-มีคู่มือกรจัดการฟาร์มที่เเสดงให้เห็นรายละเอียดการปฏิบัติงานที่สำคัญภายในฟาร์มได้เเก่ ระบบการเลี้ยง อาหารและน้ำสำหรับไก่เนื้อการจัดการด้านสุขภาพเนื้อไก่ และการจัดการด้านสวัสดิภาพสัตว์ปีก
-การจัดการอาหารและน้ำที่ใช้เลี้ยงไก่ อาหารไก่เนื้อต้องมีคุณภาพและมาตรฐานตามกฏหมายว่าด้วยการควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ มีสถานที่เก็บอาหารไก่เนื้อโดยเเยกต่างหากเเละเก็บอาหารในสถานที่ป้องกันการปนเปื้อนเเละเสื่อมสภาพ
-การจัดการน้ำใช้ในฟาร์ม น้ำที่ใช้ในฟาร์มต้องสะอาดและเหมาะสมในการใช้งาน
-โรงเรือนและอุปกรณ์และบริเวณโดยรอบ ต้องสะอาดและบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพดีและถูกสุขลักษณะ
3. บุคลากร
-จำนวนและประเภทของบุคลากรพอเหมาะกับจำนวนไก่เนื้อที่เลี้ยง มีการจัดเเบงหน้าที่เเละความรับผิดชอบอย่างชัดเจน
-มีสัตวบาลหรือบุคลากรที่ได้รับการอบรมหลักสูตรด้านสัตวบาลเป็นผู้ควบคุมดูเเลการเลี้ยงไก่เนื้อ
-มีสัตวเเพทย์ที่มีในรับรองเป็นสัตวเเพทย์ควบคุมฟาร์มสัตว์ปีกกำกับดูเเลด้านสุขภาพไก่เนื้อ
-มีการจัดการเเรงงานที่ดี
-บุคลากรที่ทำหน้าที่เลี้ยงไก่เนื้อต้องมีสุขลักษณะส่วนบุคคลที่ดีมีความรู้ และได้รับการฝึกอบรมในการเลี้ยงไก่เนื้อ เพื่อจัดการฟร์มได้
4. สุขภาพสัตว์
-การป้องกันและควบคุมโรค ต้องระบุเเหล่งที่มาของไก่เนื้อและมีมาตรการป้องกัน ควบคุมเเละกำจัดเชื้อโรคเข้าสู่ฟาร์มจากบุคคล ยานพาหนะและอุปกรณ์รวมทั้งสัตว์พาหะนำเชื้อ
-การบำบัดและรักษาโรค ต้องอยู่ภายใต้ความดูเเลของสัตวเเพทย์โดยปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวิชาชีพการสัตวเเพทย์ พ.ศ.2545 และฉบับเเก้ไขเพิ่มเติมและตามข้อกำหนดในมาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ.9032 เรื่อง ข้อปฏิบัติการควบคุมการใช้ยาสัตว์
5. สวัสดิภาพสัตว์
ดูแลไก่เนื้อให้มีความเป็นอยู่ตามหลักสวัสดิภาพสัตว์
6. สิ่งเเวดล้อม
กำจัดขยะ ของเสีย เช่น มูลไก่ ซากไก่ โดยวิธีที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งของกลิ่นและเชื้อโรค
7. การบันทึกข้อมูล
ให้บันทึกข้อมูลผลการปฏิบัติงานในขั้นตอนที่สำคัญในการจัดการฟาร์มที่มีผลต่อสุขภาพและการควบคุมโรคและเก็บบันทึกข้อมูลไว้อย่างน้อย 3 ปี